อัครศิลปิน พระปรีชาสามารถด้านดนตรีในหลวง ร.9
อัครศิลปิน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราโชวาทว่า การดนตรีเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่สามารถก่อให้เกิดความปิติ ความสุข ความยินดี ความพอใจได้มากที่สุด หน้าที่ของนักดนตรีนั้นคือ ทำให้ผู้ฟังเกิดความพอใจ ความครึกครื้น ความอดทน ความขยัน มีความเข้มแข็งและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน คือ นอกจากจะสร้างความบันเทิงแล้ว ควรแสดงในสิ่งที่จะเป็นไปในทางสร้างสรรค์ เช่น ชักนำให้คนเป็นคนดีด้วย และมีพระราชกระแสย้ำว่า
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราโชวาทว่า การดนตรีเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่สามารถก่อให้เกิดความปิติ ความสุข ความยินดี ความพอใจได้มากที่สุด หน้าที่ของนักดนตรีนั้นคือ ทำให้ผู้ฟังเกิดความพอใจ ความครึกครื้น ความอดทน ความขยัน มีความเข้มแข็งและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน คือ นอกจากจะสร้างความบันเทิงแล้ว ควรแสดงในสิ่งที่จะเป็นไปในทางสร้างสรรค์ เช่น ชักนำให้คนเป็นคนดีด้วย และมีพระราชกระแสย้ำว่า
"...ฉะนั้น การดนตรีนี้จึงมีความสำคัญต่อประเทศชาติสำหรับสังคม ถ้าทำดี ๆ
ก็จะทำให้คนมีกำลังใจที่จะปฏิบัติงานการก็เป็นหน้าที่ส่วนหนึ่งที่ให้ความบันเทิง
ทำให้คนที่กำลังท้อใจมีกำลังใจขึ้นมาได้ คือเร้าใจได้
คนกำลังไปทางหนึ่งทางที่ไม่ถูกต้อง ก็อาจจะดึงกลับมาในทางที่ถูกต้องได้
ฉะนั้นดนตรีก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง
จึงพูดได้กับท่านทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับดนตรีในรูปการณ์ต่าง ๆ ว่ามีความสำคัญ
และต้องทำให้ถูกต้อง
ต้องทำให้ดีทั้งถูกต้องในหลักวิชาการดนตรีอย่างหนึ่งและถูกต้องตามหลักวิชาของผู้ที่มีศีลมีธรรมมีความสื่อสัตย์สุจริต
ก็จะทำให้เป็นประโยชน์อย่างมาก เป็นประโยชน์ทั้งต่อส่วนรวมทั้งส่วนตัว
เพราะก็อย่างที่กล่าวว่า เพลงนี้มันเกิดความปีติภายในของตัวเองได้
ความปีติในผู้อื่นได้ ก็เกิดความดีได้ความเสียก็ได้
ฉะนั้นก็ต้องมีความระมัดระวังให้ดี"
พระบรมราโชวาทดังกล่าวเป็นการส่งเสริมนักดนตรีให้ช่วยกันจรรโลงสังคมด้วยผลงานในเสียงดนตรี
สร้างสรรค์งานศิลปะให้เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติด้วย
พระราชอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถด้านดนตรีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนับว่าเป็นอเนกอนันต์
ทั้งในด้านวิชาการ การดนตรี การพระราชนิพนธ์ การส่งเสริมและการอุปถัมภ์ด้านดนตรี
ทั้งนี้ด้วยทรงเข้าพระราชหฤทัยอย่างลึกซึ้งและถ่องแท้ในศาสตร์แห่งศิลปะการดนตรี
ที่สร้างความดีงามและความคิดสร้างสรรค์
อันเป็นประโยชน์นานัปการแก่สังคมและประชาชนชาวไทยโดยส่วนรวมอย่างเต็มเปี่ยม
สมดังที่พสกนิกรชาวไทยน้อมเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญา "อัครศิลปิน" โดยแท้.
ผลงานเพลงพระราชนิพนธ์
เป็นเครื่องพิสูจน์ได้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงพระปรีชาสามารถพร้อมมูลในทุกๆ ด้าน พระองค์ทรงเป็นนักดนตรี นักประพันธ์เพลง
นักเรียบเรียงเสียงประสาน ที่ทรงพระปรีชาสามารถอย่างสูงยิ่ง ทรงเป็นนักแซกโซโฟน
นักคลาริเนต นักทรัมเป็ต และนักเปียโน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงมีพระปรีชาสามารถทางดนตรีเป็นพิเศษ ทั้งคลาริเนตและแซกโซโฟน
มีนักดนตรีที่มีชื่อเสียงของโลก เดินทางมาแสดงในเมืองไทย
และได้บรรเลงร่วมวงกับพระองค์ท่าน ทรงบรรเลงอย่างคีตปฏิภาณ (Improvisation)
ได้อย่างคล่องแคล่ว และฉับพลัน อาทิ เบนนี่ กูดแมน (Benny
Goodman) นักคลาริเนต แจ๊ก ทีการ์เดน (Jack Teagarden) ซึ่งเป็นนักระนาดฝรั่ง ลีโอเนล แฮมพ์ตัน (Lionel Hampton) นักทรอมโบน นอกจากนั้นยังมีแสตน เก็ตส์ (Stan Getz) ซึ่งเป็นนักแซกโซโฟนเอกของโลกอีกคนหนึ่ง
นักดนตรีที่ดีนั้นหายาก
นักดนตรีที่ดีและประพันธ์เพลงด้วยนั้น หายากยิ่งขึ้นไปอีกและถ้าหากจะหานักดนตรี
นักประพันธ์เพลง และเป็นพระมหากษัตริย์ด้วยแล้ว มีเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น
พระบรมราโชวาทพระราชทาน
เนื่องในงานสังคีตมงคล ครั้งที่ 2 ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร
วันพฤหัสบดี ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ความตอนหนึ่งว่า
"...ดนตรีนี้มีไว้สำหรับให้บันเทิง แล้วก็ให้จิตใจสบาย ดนตรีนี่คือเสียง
แต่สิ่งประกอบยังมีว่า เสียงนั้นเป็นเสียงอะไร นั่นน่ะ ยังเป็นคุณภาพของเสียง
...พวกเราเป็นนักดนตรี นักเพลง นักเกี่ยวข้องกับเรื่องศิลปะในด้านการแสดง
การแสดงโดยเฉพาะดนตรี พวกเรานี่มีความสำคัญมาก ไม่ใช่น้อยสำหรับส่วนรวม
เพราะว่าดนตรีนั้น เป็นสิ่งหนึ่งที่จะแสดงออก ซึ่งความรู้สึกของชนหมู่หนึ่ง
ในที่นี้ชนคนไทยก็คือ ประชาชนคนไทยทั้งหลาย จะแสดงความรู้สึกออกมา
หรือจะรับความรู้สึกที่แสดงออกมา ก็ด้วยดนตรี พวกเราที่เป็นนักเพลงนักดนตรี
จึงมีความสำคัญยิ่ง..."
พระบรมราโชวาท
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ชาวคณะสุนทราภรณ์ เนื่องในวาระครบรอบ 30 ปี สุนทราภรณ์ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512 ความตอนหนึ่งว่า
"...เดี๋ยวนี้สังเกตเห็นว่า เพลงมีทางดีและทางเสียได้ 2 อย่าง
ถ้าอย่างที่ดีก็ทำให้ไม่เสื่อมเสียด้านศีลธรรม และส่วนดีนั้น
ก็ชักจูงให้คนประกอบอาชีพในทางถูกต้องเหมาะสม ไม่ทำลายบ้านเมือง
ในส่วนเสียนั้นข้อหนึ่ง ก็คือทำให้เสื่อมเสียในศีลธรรม
ข้อสองก็คือเสื่อมในความรักชาติรักประเทศ ทั้งสองอย่าง ถ้าตั้งใจทำก็ทำได้
จะทำให้ประชาชนไม่ทำลายศีลธรรม หรือทำให้มีเพลงที่ช่วยให้รักชาติไม่ทำลายชาติ
แต่ว่ามีเหมือนกันที่เพลงทำลายบ้านเมือง และทำลายความเป็นปึกแผ่นของบ้านเมือง
เราจึงต้องพยายาม ความพยายามนั้นก็มีได้ 3 อย่างคือ
1. ตั้งใจดีต่อบ้านเมือง ต่อศิลปะ
2. เป็นส่วนที่ตั้งใจร้ายต่อบ้านเมือง
3. ไม่ดีไม่ร้าย ทำเพียงแต่จะหากิน
พวกเราอย่าอยู่อย่างพวก 2 กับ 3 การทำมาหากินนั้นเราก็ทำ แต่อย่าทำลายศีลธรรม และอย่าทำลายชาติหรือศิลปะ..."
1. ตั้งใจดีต่อบ้านเมือง ต่อศิลปะ
2. เป็นส่วนที่ตั้งใจร้ายต่อบ้านเมือง
3. ไม่ดีไม่ร้าย ทำเพียงแต่จะหากิน
พวกเราอย่าอยู่อย่างพวก 2 กับ 3 การทำมาหากินนั้นเราก็ทำ แต่อย่าทำลายศีลธรรม และอย่าทำลายชาติหรือศิลปะ..."
พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานแก่คณะกรรมการประกวดแผ่นเสียงทองคำ ศิลปิน นักแสดง
นักวิชาการประกวดภาพยนตร์ คณะกรรมการจัดงานประกวดภาพยนตร์ ณ ศาลาดุสิดาลัย
พระราชวังดุสิต วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 ความตอนหนึ่งว่า
"...ศิลปะการดนตรี การเพลง การแสดงนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับบุคคลทุกคน
จะเป็นในประเทศไทย หรือต่างประเทศที่ไหนก็ตาม ก็ถือว่าดนตรีคือการแสดง
ถือว่าเพลงเป็นส่วนสำคัญ เพราะเป็นการแสดงออกมา ซึ่งจิตใจที่มีอยู่ในตัว
จิตใจนั้นจะมีอย่างไร เพลงหรือการแสดงดนตรี หรือการแสดงภาพยนตร์
แสดงละครก็ได้แสดงออกซึ่งความคิด หมายถึงความดีที่มีอยู่ในตัวได้ทั้งนั้น
นอกจากนั้น ก็สามารถที่จะแสดงความคิดในทางอื่นก็ได้ เช่น แม้จะลัทธิการเมือง
หรือความรู้สึกในชาติบ้านเมือง ความรู้สึกในเรื่องของมวลมนุษย์ ก็ออกมาได้ทั้งนั้น
อยู่ที่บุคคลเท่านั้นเองที่จะแสดงออกมาอย่างไร สำหรับผู้ที่เป็นศิลปินในด้านเพลง
ในด้านแสดงดนตรี ในด้านแสดงละคร หรือภาพยนตร์ในประเทศไทย ข้าพเจ้าเข้าใจว่า
มีจิตใจอยู่อย่างเดียวคือ อยากที่จะทำให้ประเทศชาติอยู่เป็นปึกแผ่น
และเพื่อให้ประเทศชาติ เป็นปึกแผ่นนั้นมีวิธีอย่างหนึ่ง ซึ่งดีมากก็คือ
แสดงว่าประเทศไทย เรามีจิตใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหรือจะว่า
มีเอกลักษณ์คือมีการแสดงออกมาได้ว่า คนไทยเรามีประเทศชาติ
คนไทยเรามีประวัติศาสตร์ที่ยืนนานมานานเป็นร้อย ๆ ปี เรารักษามาได้แล้ว
ก็ทำให้มีความเป็นไทยอยู่ในจิตใจแท้ ๆ ความเป็นไทยที่มีอยู่ในจิตใจจะออกมาทางศิลปะ
...แต่ถ้าไม่ระมัดระวังและไปเชื่อว่า ดนตรีต้องเป็นอย่างอื่น
ไม่ใช่การซึ่งมีอยู่ในใจแท้ ๆ แต่เป็นการเรียกว่าการรับจ้าง..."
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในโอกาสที่คณะกรรมการของสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยฯ เฝ้าทูลเกล้าฯ
ถวายเงินเพื่อสมทบทุน "โครงการพัฒนาตามพระราชประสงค์" ณ ศาลาดุสิดาลัย
พระราชวังดุสิต วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2524 ความตอนหนึ่งว่า
"...การดนตรีนี้จึงมีความสำคัญสำหรับประเทศชาติ สำหรับสังคม ถ้าทำดี ๆ
ก็ทำให้คนเขามีกำลังใจที่จะปฏิบัติงานการ ก็เป็นหน้าที่ส่วนหนึ่งที่ให้ความบันเทิง
ทำให้คนที่กำลังท้อใจมีกำลังใจขึ้นมาได้ คือเร้าใจได้
คนกำลังไปทางหนึ่งทางที่ไม่ถูกต้อง ก็อาจจะดึงกลับมาในทางที่ถูกต้องได้
ฉะนั้นดนตรีนี้ก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง
จึงพูดได้กับท่านทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการดนตรีในรูปการณ์ต่างๆ ว่า
มีความสำคัญและต้องทำให้ถูกต้อง ต้องทำให้ดีทั้งถูกต้อง
ในทางหลักวิชาของการดนตรีอย่างหนึ่ง และก็ถูกต้องตามหลักวิชาของผู้ที่มีศีล มีธรรม
มีความซื่อสัตย์สุจริต ก็จะทำให้เป็นประโยชน์อย่างมาก
เป็นประโยชน์ทั้งต่อส่วนรวมทั้งส่วนตัว เพราะก็อย่างที่กล่าวว่า
เพลงนี้มันเกิดความปีติภายในของตัวเองได้ ความปีติในผู้อื่นได้
ก็เกิดความดีได้ความเสียก็ได้ ฉะนั้นก็ต้องมีความระมัดระวังให้ดี..."
บทเพลงพระราชนิพนธ์
บทเพลงพระราชนิพนธ์